ที่ออกแบบและพัฒนาโดย บริษัท นิวซอฟท์ เทคโนโลยี คอนซัลเทนท์ จำกัด
ACCSYS-PS: Purchasing System
ระบบบริหารงานจัดซื้อ เป็นระบบที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการจัดทำใบขอซื้อ (Purchase Request) รวมถึงการพิจารณาการออกใบสั่งซื้อสินค้า (Purchase Order) ช่วยลดความซ้ำซ้อนในการทำงาน ลดค่าใช้จ่ายในการจัดทำเอกสาร เพิ่มความรวดเร็วในการสั่งซื้อสินค้า
สำหรับระบบบริหารงานจัดซื้อนี้ เป็นระบบที่ทำหน้าที่ในการเก็บประวัติการสั่งซื้อสินค้า ราคาสินค้าที่ซื้อ ตลอดจนร้านค้าที่ซื้อ เงื่อนไขในการสั่งซื้อ ทั้งยังสามารถเชื่อมต่อโดยตรงไปที่ระบบสินค้าคงคลัง ACCSYS-INVENTORY เพื่อตรวจสอบปริมาณสินค้าคงเหลือในปัจจุบัน เพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้บริหารใช้ประกอบการพิจารณาสั่งซื้อสินค้าได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว ช่วยลดปัญหาในการสั่งซื้อสินค้าราคาแพง และสั่งซื้อมากกว่าปริมาณที่จำเป็น
คุณสมบัติโดยทั่วไป
1.เชื่อมต่อโดยตรงกับระบบสินค้าคงคลัง
เพื่อตรวจสอบยอดสินค้าคงเหลือ และบันทึกการรับเข้าสินค้าตามใบสั่งซื้อ
2.เก็บประวัติการซื้อสินค้าแต่ละชนิด
3. ช่วยในการพิจารณา
หาราคาสินค้าและร้านค้าที่ดีที่สุดในการจัดซื้อ
4. จัดทำรายการเปรียบเทียบ
ราคาสินค้าในส่วนของ Market list ที่จำเป็นต้องสั่งซื้อทุกวัน
5. พิมพ์ใบขอซื้อ (PR : Purchase Request)
เพื่อขออนุมัติการสั่งซื้อ
6. พิมพ์ใบสั่งซื้อ (PO : Purchase Order)
เพื่อส่งให้กับร้านค้า
ACCSYS-AP : Account Payable System ระบบบริหารจัดการเจ้าหนี้ (บัญชีแยกประเภทเจ้าหนี้) เป็นระบบที่ช่วยในการวางแผนการชำระค่าใช้จ่ายต่าง ๆที่เกิดจากการซื้อสินค้าและบริการ โดยท่านสามารถกำหนดรายละเอียดต่าง ๆ รวมถึงเงื่อนไขในการชำระเงินของผู้ขายแต่ละราย เช่น ระยะเวลาในการชำระ รวมถึงวงเงินเครดิต ช่วยให้ท่านสามารถทราบสถานะภาพทางด้านค่าใช้จ่ายค้างจ่ายแยกตามอายุหนี้ได้อย่างถูกต้องตลอดเวลา ทั้งนี้ระบบจะทำการรับข้อมูลการซื้อสินค้าและบริการต่างๆ ที่มิได้ชำระเป็นเงินสดโดยตรงมาจากระบบการรับเข้าสินค้า (Receiving) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบควบคุมสินค้าคงคลัง (ACCSYS-INVENTORY) และทำการตั้งหนี้เพื่อรอการตัดจ่ายให้ตามใบแจ้งหนี้ของผู้ขายให้โดยอัตโนมัติทั้งนี้ยังรวมถึงการบันทึกรายการภาษีซื้อ การออกรายงานสรุปภาษีซื้อ การบันทึกรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ภงด.3 และ ภงด.53) การพิมพ์ใบหักภาษี ณ ที่จ่าย และการออกรายงานสรุปภาษีหัก ณ ที่จ่าย เพื่อใช้ในการนำส่งให้กรมสรรพากร
คุณสมบัติโดยทั่วไป
1.บันทึกรายการซื้อ
เพื่อตั้งหนี้แยกตามเจ้าหนี้แต่ละราย โดยรับถ่ายข้อมูลโดยตรงมาจากระบบการรับสินค้า
2. บันทึกรายการลดหนี้ (Credit Note)
ในกรณีที่มีการปรับลดยอดหนี้ อันเนื่องจากการส่งคืนสินค้า หรือในกรณีที่ได้ส่วนลดเป็นกรณีพิเศษ เป็นต้น
3. จัดทำใบสรุปการรับวางบิล (Payment Voucher)
เพื่อประกอบการชำระหนี้
4. บันทึกรายการภาษีซื้อ
ออกรายงานสรุปภาษีซื้อประจำเดือน ซึ่งสามารถใช้เป็นเอกสารประกอบการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่กรมสรรพากรได้
5. พิมพ์ใบหักภาษี ณ ที่จ่าย
และออกรายงานสรุปภาษีหัก ณ ที่จ่ายประจำเดือน ซึ่งสามารถใช้เป็นเอกสารประกอบการนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย ให้แก่กรมสรรพากรได้ (ภงด.3 และ ภงด. 53)
6. จัดพิมพ์เช็ค และออกรายงานสรุปเช็คจ่าย
จัดพิมพ์เช็ค และออกรายงานสรุปเช็คจ่าย ทั้งส่วนที่ถูกเรียกเก็บแล้ว และส่วนที่อยู่ระหว่างการเรียกเก็บ ทำให้สามารถกระทบยอดกับ Bank Statement ได้
7. จัดทำทะเบียนประวัติเจ้าหนี้ (Supplier Card)
8.โอนรายการบันทึกทางบัญชี ไประบบบัญชีแยกประเภท (ACCSYS-GL) เพื่อปรับปรุงยอดเจ้าหนี้รวม
ACCSYS-AR : Accounts Receivable ระบบบริหารจัดการงานลูกหนี้รายตัว(บัญชีแยกประเภทลูกหนี้) เป็นระบบที่ช่วยให้ผู้ประกอบการโรงแรมสามารถบริหารงานลูกหนี้รายตัวได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว ทำให้สามารถควบคุมยอดค้างชำระของลูกหนี้แต่ละรายได้อย่างแม่นยำ ช่วยลดปัญหาในเรื่องของปริมาณหนี้ของลูกหนี้บางรายที่มากเกินไป ซึ่งอาจนำมาซึ่งปัญหาหนี้เสียได้ในอนาคต ระบบบัญชีลูกหนี้ ช่วยให้ท่านสามารถกำหนดรายละเอียด และคุณลักษณะเฉพาะลูกหนี้แต่ละรายได้ เช่น ที่อยู่ในการจัดส่งใบแจ้งหนี้ วงเงินเครดิต ระยะเวลาในการชำระหนี้ ฯ อีกทั้งตัวระบบจะทำการจัดเตรียมใบแจ้งหนี้ (Invoice) ให้เองโดยอัตโนมัติ โดยอาศัยข้อมูลที่ถูกส่งต่อมาจากระบบบริหารงานโรงแรมส่วนหน้า FROMAS โดยตรง หลังจากที่แขกทำการเช็คเอาท์ ทั้งนี้รวมถึงเอกสารต่าง ๆ เช่น ใบสรุปการวางบิล (Statement of Invoice) และรายงานอีกมากมายเช่น รายงานสรุปที่ใช้เพื่อวิเคราะห์ยอดค้างชำระของลูกหนี้แต่ละรายโดยแยกตามอายุของหนี้ (Aging Report) รายงานทะเบียนประวัติการใช้บริการและการชำระหนี้ของลูกหนี้แต่ละราย (Customer Card) เป็นต้น
คุณสมบัติโดยทั่วไป
1.จัดทำใบแจ้งหนี้
จัดทำใบแจ้งหนี้โดยการโอนถ่ายข้อมูลโดยตรงมาจากระบบ FROMAS & RAS หลังจากที่แขกทำการเช็คเอาท์ออกจากโรงแรม พร้อมรายงานในรูปแบบและรายละเอียดต่างๆ เพื่อใช้อ้างอิงและการตรวจสอบงาน
2. ปรับปรุงแก้ไขค่าใช้จ่าย (Charge/Rebate)
พร้อมบันทึกบัญชี ในกรณีที่มีการบันทึกค่าใช้จ่ายขาดหรือเกินกว่าความเป็นจริงมาจากเจ้าหน้าที่การเงินส่วนหน้า (Front Cashier) เพื่อให้ได้ใบแจ้งหนี้ที่ถูกตรงเพื่อใช้ในการเรียกเก็บ
3. พิมพ์ใบสรุปการวางบิล
เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบการวางบิลให้แก่ลูกหนี้
4. การตัดยอดหนี้เมื่อมีการรับชำระ( Receive)
โดยสามารถกำหนดรายละเอียดต่างๆ ของการรับชำระพร้อมบันทึกการลงบัญชี โดยจะตัดยอดตามใบแจ้งหนี้ทั้งใบ หรือตัดชำระเพียงบางส่วนก็ได้
5. บันทึกการรับชำระเงินล่วงหน้า (Deposit)
โดยสามารถนำยอดเงินที่ชำระล่วงหน้ามาทำการตัดลดหนี้ที่เกิดขึ้นในภายหลังได้ ทำให้สามารถควบคุมยอดชำระเงินล่วงหน้าคงเหลือของลูกหนี้แต่ละรายได้
6. โอนรายการบันทึกทางบัญชี ไประบบบัญชีแยกประเภท (ACCSYS-GL)
โดยสามารถนำยอดเงินที่ชำระล่วงหน้า (Deposit) มาทำการตัดลดหนี้ที่เกิดขึ้นในภายหลังได้ ทำให้สามารถควบคุมยอดชำระเงินล่วงหน้าคงเหลือของลูกหนี้แต่ละรายได้
ACCSYS-AC : Asset Control System ระบบบริหารงานทะเบียนทรัพย์สิน เป็นระบบที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้น เพื่อช่วยในการจัดทำทะเบียนประวัติทรัพย์สินของโรงแรม เพื่อใช้สำหรับการตรวจสอบ และควบคุมทรัพย์สินต่างๆ ระบบบริหารงานทะเบียนทรัพย์สิน เป็นระบบที่มีหน้าที่ในการจัดเก็บรายละเอียดของทรัพย์สินทั้งหมดของโรงแรม ตั้งแต่ราคาซื้อ การรับประกัน ร้านค้าที่ซื้อ รวมถึงประวัติการซ่อมบำรุง ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง การจำหน่ายออก กำไรขาดทุนจากการขายสินทรัพย์ และค่าเสื่อมราคาสะสมของสินทรัพย์แต่ละตัว ทำให้สามารถทราบถึงมูลค่าปัจจุบันหลังหักค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (Book Value) แต่ละตัวได้ตลอดเวลา
คุณสมบัติโดยทั่วไป
1. บันทึกรายละเอียดของทรัพย์สินแต่ละชนิด
2. พิมพ์ฉลากบาร์โค้ด เพื่อใช้ปิดกำกับสินทรัพย์แต่ละตัว
3. สามารถกำหนดวิธีการในการตัดค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินแต่ละชนิดได้
4. บันทึกรายการเคลื่อนไหวต่าง ๆ เช่น ซื้อ ซ่อม ขาย โอนย้าย ฯ
5. สรุปผลกำไรขาดทุนจากการจำหน่ายทรัพย์สิน
6. ส่งต่อข้อมูลให้กับระบบบัญชีแยกประเภท เพื่อบันทึกค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ประจำงวด
7. คำนวณค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์แต่ละตัว เพื่อส่งต่อให้กับระบบบัญชีแยกประเภท เพื่อบันทึกเป็นค่าใช้จ่าย
ACCSYS-DL : Daily Income ระบบบริหารจัดการงานรายได้ เป็นระบบที่ช่วยลดความซ้ำซ้อนในการทำงานในส่วนของการรับรู้รายได้ อำนวยความสะดวกให้แก่เจ้าหน้าที่ที่กำกับดูแลในเรื่องของการตรวจสอบรายได้ (Income Auditor) ทำให้ทราบรายได้รวมขององค์กรได้ในทันทีที่ทำการปิดบัญชีประจำวัน โดยระบบจะทำการรับข้อมูลการขายทั้งในส่วนของยอดขาย และยอดการรับชำระแยกตามประเภทต่าง ๆ มาจากระบบบริหารงานโรงแรมส่วนหน้า FROMAS และระบบบริหารงานห้องอาหาร RAS โดยตรง ทันทีที่จุดขายต่าง ๆ ที่เป็นผู้รับรู้รายได้ทำการปิดบัญชีประจำวัน ทั้งนี้ ระบบยังสามารถทำการแบ่งแยกรายได้ในส่วนที่มีค่าบริการและภาษีมูลค่าเพิ่มรวมอยู่ด้วยออกจากกันโดยอัตโนมัติตามเงื่อนไขที่ทางผู้ใช้กำหนด ก่อนที่จะทำการออกรายงานสรุปรายได้ประจำวัน ทำให้ทราบถึงยอดรายได้ที่แท้จริงที่ไม่รวมค่าบริการและภาษีมูลค่าเพิ่ม
คุณสมบัติโดยทั่วไป
1.บันทึกรายการยอดขายประจำวัน
โดยการรับข้อมูลโดยตรงจากจุดขายต่าง ๆ
2.ปรับปรุงรายได้
โดยทำการแยกค่าบริการและภาษีมูลค่าเพิ่ม ออกจากรายได้จริง ในกรณีที่การบันทึกรายได้จากจุดขายเป็นแบบที่รวมค่าบริการและภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว
3. ปรับปรุงรายได้ และออกรายงานการปรับปรุง
ในกรณีที่มีการบันทึกรายการผิดมาจากจุดขาย
4. จัดทำกลุ่ม หรือหมวดหมู่ของรายได้
และประเภทการรับชำระใหม่ ตามมุมมองของการตรวจสอบ เพื่อใช้ในการออกรายงานสรุปรายได้ตามต้องการ
5. ออกรายงานสรุปการรายได้
แยกตามประเภทการขาย และประเภทการรับชำระ ทั้งในรูปแบบของเดือน และปีได้
6. ทำการเชื่อมโยง
รายได้แต่ละประเภทไปยังบัญชีแยกประเภทที่ต้องการ
7. บันทึกรายการขาย (Sales Book)
ไปยังระบบบัญชีแยกประเภท (ACCSYS-GL)
ACCSYS-GL : General Ledger System
ระบบบัญชีแยกประเภททั่วไป เป็นระบบที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถจัดทำงบการเงิน (Financial statement) ทุกชนิดได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง ง่ายต่อการตรวจสอบ อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้กับผู้ใช้สามารถกำหนดรูปแบบของงบการเงินต่าง ๆ ตามแบบของตัวเองได้ไม่จำกัดรูปแบบ
จุดเด่นของระบบบัญชีแยกประเภท ACCSYS-GL คือ เปิดให้ผู้ใช้สามารถออกแบบผังบัญชีได้ตามต้องการ พร้อมทั้งสามารถเชื่อมต่อโดยต่อกับระบบต่าง ๆ
เพื่อรับโอนข้อมูลการบันทึกบัญชีเข้ามาเพื่อใช้ประกอบการออกงบการเงินได้เลย โดยในส่วนของรายได้ต่าง ๆ นำเข้ามาจากระบบงานรายได้ ACCSYS-DL และระบบบริหารจัดการลูกหนี้รายตัว ACCSYS-AR
ส่วนค่าใช้จ่ายนำเข้าจากระบบสินค้าคงคลัง ACCSYS-INVENTORY และระบบบริหารจัดการเจ้าหนี้รายตัว ACCSYS-AP และในส่วนของค่าเสื่อมราคาก็สามารถนำเข้าข้อมูลมาจากระบบบริหารจัดการทรัพย์สิน ACCSYS-AC
ดังนั้น จึงทำให้ผู้ใช้สามารถทำการปิดบัญชีประจำเดือนได้ค่อนข้างรวดเร็ว
คุณสมบัติโดยทั่วไป
1.บันทึกรายการรายวันทั่วไป (Journal Voucher)
โดยสามารถแยกประเภทของ JV ได้ไม่จำกัด
2.บันทึกรายการรายวันทั่วไป
ผ่านทางรายวันมาตรฐานที่ใช้ประจำ (Standard JV) ที่สร้างไว้ล่วงหน้าได้ เช่น รายวันการชำระค่าสาธารณูปโภคที่ต้องชำระเป็นประจำทุกเดือน
3. รับโอนรายการการบันทึกรายวัน
ทั่วไปจากระบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประกอบการออกงบการเงิน
4. สามารถแยกประเภท
ของสมุดรายวันได้ไม่จำกัด เพื่อให้ง่ายแก่การตรวจสอบ
5. กำหนดรูปแบบของงบการเงิน
ตามต้องการได้ ทั้งในส่วนของงบใหญ่ และงบแสดงรายละเอียด
6. ออกงบการเงินได้
ทั้งในรูปแบบของ รายเดือน รายไตรมาส รายปี หรืองบเปรียบเทียบย้อนหลัง
7. บันทึกประมาณการรายได้
และค่าใช้จ่าย (Budgeting) เพื่อจัดทำงบประมาณการ หรือเพื่อออกงบการเงินที่ใช้ในเปรียบเทียบกับงบการเงินจริง
ACCSYS-PS: Purchasing System
ระบบบริหารงานจัดซื้อ เป็นระบบที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการจัดทำใบขอซื้อ (Purchase Request) รวมถึงการพิจารณาการออกใบสั่งซื้อสินค้า (Purchase Order) ช่วยลดความซ้ำซ้อนในการทำงาน ลดค่าใช้จ่ายในการจัดทำเอกสาร เพิ่มความรวดเร็วในการสั่งซื้อสินค้า
สำหรับระบบบริหารงานจัดซื้อนี้ เป็นระบบที่ทำหน้าที่ในการเก็บประวัติการสั่งซื้อสินค้า ราคาสินค้าที่ซื้อ ตลอดจนร้านค้าที่ซื้อ เงื่อนไขในการสั่งซื้อ ทั้งยังสามารถเชื่อมต่อโดยตรงไปที่ระบบสินค้าคงคลัง ACCSYS-INVENTORY เพื่อตรวจสอบปริมาณสินค้าคงเหลือในปัจจุบัน เพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้บริหารใช้ประกอบการพิจารณาสั่งซื้อสินค้าได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว ช่วยลดปัญหาในการสั่งซื้อสินค้าราคาแพง และสั่งซื้อมากกว่าปริมาณที่จำเป็น
คุณสมบัติโดยทั่วไป
1.เชื่อมต่อโดยตรงกับระบบสินค้าคงคลัง
เพื่อตรวจสอบยอดสินค้าคงเหลือ และบันทึกการรับเข้าสินค้าตามใบสั่งซื้อ
2.เก็บประวัติการซื้อสินค้าแต่ละชนิด
3. ช่วยในการพิจารณา
หาราคาสินค้าและร้านค้าที่ดีที่สุดในการจัดซื้อ
4. จัดทำรายการเปรียบเทียบ
ราคาสินค้าในส่วนของ Market list ที่จำเป็นต้องสั่งซื้อทุกวัน
5. พิมพ์ใบขอซื้อ (PR : Purchase Request)
เพื่อขออนุมัติการสั่งซื้อ
6. พิมพ์ใบสั่งซื้อ (PO : Purchase Order)
เพื่อส่งให้กับร้านค้า
ACCSYS-IC : Inventory Control
ระบบบัญชีควบคุมสินค้าคงคลัง เป็นระบบที่ใช้เพื่อการตรวจสอบปริมาณสินค้าคงเหลือ ซึ่งสามารถจัดกลุ่มหรือแบ่งหมวดหมู่ได้ไม่จำกัดประเภทตามความต้องการของผู้ใช้ ทั้งนี้ ระบบจะทำการบันทึกประวัติการรับเข้า เบิกออก รวมถึงในส่วนของการปรับปรุงยอดของสินค้าแต่ละชนิด ทำให้สามารถทราบถึงมูลค่าของสินค้าคงเหลือ และปริมาณของสินค้าคงเหลือแต่ละชนิดได้อย่างถูกต้องตลอดเวลา
ส่วนของระบบบัญชีควบคุมสินค้าคงคลัง เป็นตัวทำหน้าที่ในการบันทึกรายการรับสินค้าเข้า (Receiving) แล้วส่งต่อข้อมูลให้กับระบบบัญชีเจ้าหนี้เพื่อตั้งหนี้ ทำการบันทึกการเบิกจ่ายสินค้าหรือวัตถุดิบให้กับแผนกต่าง ๆ เพื่อตัดเป็นค่าใช้จ่ายของแต่ละแผนก และสิ้นสุดที่การตรวจนับสินค้าคงเหลือประจำงวด ทำให้สามารถทราบถึงผลต่างของปริมาณสินค้าคงเหลือที่มีอยู่จริงตามจุดต่าง ๆ และปริมาณสินค้าที่มีเหลืออยู่ในระบบ
คุณสมบัติโดยทั่วไป
ระบบควบคุมคลังสินค้าหลัก (Main store)
1.บันทึกรายการรับเข้าสินค้า (Receiving) และออกเอกสารประกอบการรับเข้าสินค้า
2.เชื่อมต่อโดยตรงกับระบบบริหารการจัดซื้อ (ACCSYS-PS) เพื่อขอข้อมูลการสั่งซื้อสินค้า เปรียบเทียบกับใบกำกับการส่งสินค้าของจากผู้ขาย
3. ส่งต่อข้อมูลให้กับระบบบริหารงานเจ้าหนี้ (ACCSYS-AP) เพื่อทำการตั้งหนี้
4. บันทึกรายการเบิกจ่ายสินค้า (Issuing) เพื่อบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายของแผนกที่ทำการเบิก
5. ส่งต่อรายการเบิกจ่ายสินค้า ให้กับระบบคลังสินค้าย่อย
6. บันทึกรายการเคลื่อนไหวต่าง ๆ ของสินค้าแต่ละชนิด เช่น แตก หัก เสียหาย เป็นต้น
7.บันทึกรายการตรวจนับสินค้าคงเหลือในคลังสินค้าหลักประจำงวด (Physical Count) เพื่อออกรายงานแสดงผลต่างเปรียบเทียบระหว่างยอดสินค้าคงเหลือจากการตรวจนับ กับยอดสินค้าคงเหลือในระบบ
8.ส่งต่อข้อมูลให้กับระบบบัญชีแยกประเภท เพื่อบันทึกรายการค่าใช้จ่าย และปรับปรุงยอดสินค้าคงเหลือ
ระบบควบคุมคลังสินค้าย่อย (Sub-store)
1.บันทึกรายการรับเข้าสินค้า (Receiving, Direct, Issued Main-Store) จากระบบคลังสินค้าหลัก (Main Store)
2.บันทึกข้อมูลวัตถุดิบใช้ไปจากการขาย โดยรับข้อมูลมาจากโปรแกรมบริหารงานร้านอาหาร RAS : Restaurant Automation System ซึ่งได้กำหนดวัตถุดิบที่ใช้ในการ ผลิตอาหาร/เครื่องดื่ม ไว้แล้ว
3.บันทึกข้อมูลการขายโดยผู้ใช้เอง บันทึกเสียหาย บันทึกการถูกใช้ไปและการส่งต่อไปยังแผนกอื่นที่ต้องการ
4.บันทึกการตรวจนับสินค้าคงเหลือในคลังสินค้าย่อยประจำงวด (Physical Count) เพื่อออกรายงานแสดงผลต่างเปรียบเทียบระหว่างยอดสินค้าคงเหลือจากการตรวจนับ กับยอดสินค้าคงเหลือในระบบ
5.ออกรายงานสรุปเพื่อการบันทึกบัญชีต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายของแต่ละแผนก
ACCSYS-VS: Vatsale
เป็นโปรแกรมสําเร็จรูปที่ใช้สําหรับการออกใบกํากับภาษีขาย ใบลดหนี้ มีเมนูการทํางานที่สามารถอํานวย
ความสะดวกพร้อมทั้งมีรายงานสรุปการทํางานภายในเดือนทําให้ง่ายต่อการตรวจสอบ ช่วยลดการขั้นตอนการทํางาน ช่วยประหยัดเวลาแก่ผู้ใช้งาน
ระบบได้อย่างมาก
คุณสมบัติโดยทั่วไป
1.สามารถออกใบกํากับภาษีขาย (Tax Invoice) ใบเสร็จรับเงิน (Receipt) และใบลดหนี้ (Credit Note)ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
2.สามารถสร้างเล่มสําหรับการออก ใบกํากับภาษีขาย (Tax Invoice) ใบเสร็จรับเงิน (Receipt) และใบลดหนี้ (Credit Note) ได้เองอย่างไม่จํากัด
3. มีระบบฐานข้อมูลลูกค้าเพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการออกใบกํากับภาษีขายในครั้งต่อๆ ไปได้
4.มีระบบค้นหารายชื่อลูกค้า โปรแกรมจะทําการค้นรายชื่อ พร้อมรายละเอียดที่ใช้สําหรับการออกใบกํากับภาษีช่วยลดความช้ําซ่อนในการทํางาน
5. มีระบบฐานข้อมูลของสินค้า/บริการ ขายเพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการออกใบกํากับภาษีขายในครั้งต่อๆ ไปได้
6.ในกรณีที่ลูกค้าคุณต้องการสําเนาใบกํากับภาษีขายเพิ่มเติม คุณสามารถเรียกสั่งพิมพ์ได้ทันทีตลอดเวลา
7.มีระบบการสํารองข้อมูล เพื่อความมั่นใจว่าข้อมูลของคุณจะไม่สูญหาย หรือข้อมูลเสีย
8.สามารถเรียกออกรายงานภาษีขายตลอดเวลา (รายงานภาษีขาย ,รายงานสรุปประเภทการรับเงิน ,รายงานแสดงสถานะของใบกํากับภาษี ,รายงานสรุปประเภทรายการขาย) โดยมีข้อความและรูปแบบตามที่กรมสรรพากรกําหนด
ACCSYS-CS: Cost Control
เป็นระบบที่ใช้สําหรับควบคุมและตรวจสอบปริมาณการใช้สินค้าในคลังสินค้าย่อยของ แต่ละแผนก สามารถบันทึกรายการรับสินค้าเข้า (Receiving) บันทึกการเบิกจ่ายสินค้า หรือวัตถุดิบที่ใช้งาน เพื่อตัดเป็นค่าใช้จ่ายของแต่ละแผนก
ทําให้สามารถรับรู้ต้นทุนและจํานวนที่ใช้ไปได้อย่างรวดเร็ว
คุณสมบัติโดยทั่วไป
1.บันทึกรายการรับเข้าสินค้า (Receiving, Direct, Issued Main-Store) จากระบบคลังสินค้าหลัก (Main Store)
2.บันทึกข้อมูลวัตถุดิบใช้ไปจากการขาย โดยรับข้อมูลมาจากโปรแกรมบริหารงานร้านอาหาร RAS®: Restaurant Automation System ซึ่งได้กําหนดวัตถุดิบที่ใช้ในการ ผลิตอาหาร/เครื่องดื่ม ไว้แล้ว
3. บันทึกข้อมูลการขายโดยผู้ใช้เอง บันทึกการเสียหาย บันทึกการถูกใช้ไปและการส่งต่อไปยังแผนกอื่นที่ต้องการ
4.บันทึกการตรวจนับสินค้าคงเหลือในคลังสินค้าย่อยประจํางวด (Physical Count) เพื่อออกรายงานแสดงผลต่างเปรียบเทียบระหว่างยอดสินค้า
คงเหลือจากการตรวจนับ กับยอดสินค้าคงเหลือในระบบ
5. ออกรายงานสรุปเพื่อการบันทึกบัญชีต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายของแต่ละแผนก